วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557


ความลับของแสง

Secrets of the Light













แสง (Light)

คือ คลื่นชนิดหนึ่งและมีพลังงานและการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น


การสะท้อนของแสง  Reflection of light

เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งมายังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับไปตัวเดิม

  • รังสีตกกระทบ (รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาวัตถุ)

  • รังสีสะท้อน (รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ)

  • เส้นปกติ (เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ)

  • มุมตกกระทบ (มุมที่รังสีตกกระทบกับเส้นปกติ)

  • มุมสะท้อน (มุมที่รังสีสะท้อนกับเส้นปกติ)

การมองเห็นวัตถุ Object visibility

      การมองเห็นวัตถุต่างๆเกิดจากการที่แสงไปตกกระทบกับสิ่งต่างๆแล้วสะท้อนกลับมาที่ตาเรา ผ่านเข้าม่านตาทำให้เกิดภาพบนจอที่อยู่ด้านหลังลูกตา ข้อมูลจะถูกส่งไปตามเส้นประสาทและสมองจะแปลงข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้นๆ







บันทึกอนุทินครั้งที่5



Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

19 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.






ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำ




อุปกรณ์


1.กระดาษ A4 สีชมพู มาแบ่งครึ่งกันให้ได้4ส่วน

2.กรรไกร

3.สีเมจิก

4.ไม้เสียบลูกชิ้น

5.กาว


ขั้นตอนการทำ


1.นำกระดาษที่แบ่งได้มาวาดภาพตามที่เราต้องการ

2.พลิกอีกด้านเพื่อวาด ให้สัมพันธ์กับด้านที่วาดแล้ว

3.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดไว้กึ่งกลางของกระดาษ

4.ลองหมุนสลับไปมา



สรุปการทำกิจกรรม     

 จากการทำกิจกรรมทำให้เราได้ศึกษาวิธีการเล่น และเมื่อเล่นแล้วก็จะทราบว่าเมื่อหมุนไม้ด้วยความเร็ว ภาพทั้งสองด้านก็จะมีความสัมพันธ์กัน เปรียบเสมือนอยู่ในภาพเดียว ทั้งนี้่ผู้เล่นต้องมีทักษะการสังเกตรวมอยู่ด้วย และจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ


การประยุกต์ใช้


1.นำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ไขหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้

2.คิดหาเหตุผล และแสวงหาความรู้เมื่อต้องการสืบค้น

3.ช่วยในการแยกแยะ และเรียนรู้ระหว่างความสัมพันธ์ของวิทยาศาสาตร์





ประเมิน


    ตนเอง

     เข้าใจความหมายและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

   

    เพื่อน

      ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังบรรยาย ช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้

 

   อาจารย์

       ยกตัวอย่างในการบรรยายเนื้อหาได้เข้าใจง่าย

















บันทึกอนุทินครั้งที่4



Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

12 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.



การนำไปประยุกต์ใช้

1.สามารถทำกิจกรรมให้เกิดประโยชน์โดยการเสริมสร้างประสบการณ์

2.การจัดกิจกรรมต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

3.มีระเบียบแบบแผนที่จะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศสาตร์

 

ประเมิน

ตนเอง

  ตั้งใจฟังบรรยายที่อาจารย์สอน สามารถคิดตามได้

เพื่อน

   ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ช่วยกันตอบคำถาม หาข้อสงสัยต่างๆ

อาจารย์

  อธิบายเนื้อหา ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย




วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
 
      


        นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป  แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย  ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้

               ดร. อุไรวาส  ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็กๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด  นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน
             
 นิทาน..ต้องเล่าก่อนนอน จริงหรือ?

              
การเล่า นิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง
               เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก  ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็กเริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารักๆ  เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
               เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่ามีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน  การใช้เสียงต่างๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง
นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ  หุ่นนิ้ว  วาดไปเล่าไป  ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาสเด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้
นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา 
เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม


               นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวังก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น  ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่าจะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด

                            
.....นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้น... แต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้



บันทึกอนุทินครั้งที่3


Recent PostsScience Experiences Management for Early Childhood

9 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


























การประยุกต์ใช้

1.เราสามารถนำไปใช้สอนในการเรียนวิทยาศาสตร์สำรับเด็ก
2.สอนให้เด็กได้รู้ว่าวิทยาศาสตร์อยู่รอบๆตัวเรา
3.ยิ่งได้เรียนรู้ ได้ทดลอง ยิ่งเกิดความรู้เพิ่มมากขึ้น

การประเมิน

ประเมินตนเอง
    มีความเข้าใจในเนื้อหาพอสมควร

ประเมินเพื่อน
    เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ถามความเข้าใจจากความรู้และประสบการณ์เดิม และอธิบายขยายความให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น